บทที่1
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว
หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัวขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ
จนในที่สุดเป็นเมือง และเป็นประเทศตามลำดับ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกัน
เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้
ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ
20ปีที่ผ่านมานี่เอง
เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2 ประเภทเข้าด้วยกัน
คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
สารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ
และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น
เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์
ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยีด้าน
คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีโทรคมนาคมเทคโนโลยีโทรคมนาคม
เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทางไกลๆได้
โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-)
เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น... -
- - ... การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401
ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก
ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว
เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000
ปีมาแล้ว
ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบคำ 2
คำ ได้แก่ เทคโนโลยี และ สารสนเทศ ซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้ ทคโนโลยี (Technology) เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า
TEXERE มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า
to weave แปลว่า สาน
เรียบเรียง ถักทอปะติดปะต่อ และ construct
แปลว่า สร้าง ผูกเรื่อง ความรู้สึกนึกคิดที่ก่อให้เกิด
ส่วนเทคโนโลยี ในรากศัพท์ภาษากรีกมาจากคำว่า technologia แปลว่า
การทำงานอย่างเป็นระบบ (systematic treatment)ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยี
จากความหมายของเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้วทำให้นักการศึกษามีทัศนะหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีแตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 2
ทัศนะคือ
1. ทัศนะด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (science technology) มุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ให้เจริญก้าวหน้าด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานสาขาต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
โดยทั่วไปวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีมีองค์ประกอบสำคัญคือ เครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิกส์
อย่างไรก็ตามเครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้นักการศึกษาให้ความเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีประเภทเครื่องมือ
(tools technology)
2. ทัศนะด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral technology) เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นกระบวนการคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการผสมผสานความรู้จากศาสตร์หลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน เช่น มนุษยศาสตร์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะสำคัญของแต่ละงาน ในบางสถานการณ์อาจนำวัสดุอุปกรณ์เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน แต่เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนเท่านั้นจากความหมายและลักษณะของเทคโนโลยีดังกล่ามาแล้วพอสรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิธีการหรือกระบวนการในการนำความรู้สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการดำเนินงานที่มีระบบและวิธีการที่ก้าวหน้าจึงนิยมใช้คำว่าเทคโนโลยีนำหน้าเสมอ เช่น เทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศสารสนเทศ (Information)
2. ทัศนะด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral technology) เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นกระบวนการคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการผสมผสานความรู้จากศาสตร์หลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน เช่น มนุษยศาสตร์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะสำคัญของแต่ละงาน ในบางสถานการณ์อาจนำวัสดุอุปกรณ์เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน แต่เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนเท่านั้นจากความหมายและลักษณะของเทคโนโลยีดังกล่ามาแล้วพอสรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิธีการหรือกระบวนการในการนำความรู้สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการดำเนินงานที่มีระบบและวิธีการที่ก้าวหน้าจึงนิยมใช้คำว่าเทคโนโลยีนำหน้าเสมอ เช่น เทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศสารสนเทศ (Information)
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้รับตีความ จำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่
หรือประมวลผลจนมีสาระอยู่ในตัวมันเองสามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น
และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งต่างๆ
ทั้งภายในหรือภายนอกองค์การเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology)
เทคโนโลยีสานสนเทศ หมายถึง
ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือในกระบวนการดำเนินงานใด ๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร
การรวบรวมและการนำข้อมูลมาใช้ทันการเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งทางด้านการผลิต การบริการ
การบริหาร และการดำเนินการ รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้
ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ การค้า
และการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุณภาพของประชาชนในสังคม ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศ
จึงเป็นการนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ผสมผสานกับการสื่อสารทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ในการใช้งานได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Information and Communication Technology)ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์แผ่อิทธิพลไปสู่สังคมโลกทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเชื่อมโยงกันแบบเครือข่ายหรือใยแมงมุมได้ทั่วทุกมุมโลกโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร
เช่นโทรศัพท์ ดาวเทียม เส้นใยแก้วนำแสง ไมโครเวฟ
ผสมผสานกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
เราจึงเรียกกระบวนการนี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information
Communication Technology : ICT) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวันในสังคมปัจจุบันไม่ว่าใครจะอยู่ที่ใด
แม้ในเมืองหรือชนบทก็ตาม
ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือสังคมอื่นอยู่เสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันด้วยสื่อต่างๆ
เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร
ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น
นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหรือกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ
(ATM : Automatic Teller/Technology Machine) การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน
การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น
กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน
การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ เช่น
การสื่อสาร การธนาคาร การบิน
วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์
การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ
เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์
สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ เช่น
การถ่ายทอดสด
การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่าง
ๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน
สร้างภาพกราฟิก เก็บข้อมูล สืบค้นข้อมูล
ฟังเพลง
รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต
การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกๆ
ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน
ที่มีต่อสังคมในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีบทบาทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมในหลายด้าน
ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้- ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล-
ช่วยทำให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว-
การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว-
สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมากซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต-
สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต เช่น
การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนการออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน-ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร-กระจายโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
สามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้-สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย
เช่น การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล
เป็นต้น
สำหรับหน่วยที่ 2 หัวบล็อกมีขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนแต่ตัวหนังสือยังตัวเล็กอยู่และในส่วนของเนื้อหานั้นได้มีการจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ทำให้ในการศึกษาเป็นไปด้วยความสะดวก ดูง่ายแบ่งออกเป็นข้อๆอย่างชัดเจน และอีกอย่างยังไม่มีภาพประกอบรูปจึงทำให้ดูไม่มีสีสันเท่าไรค่ะ
ตอบลบ